๑. ไม่คบคนพาล
คนพาลคือใคร?
คนพาล คือ คนที่มีใจขุ่นมัวเป็นปกติ เป็นผลให้มีความเห็นผิด ยึดถือค่านิยมผิด ๆ และมีวินิจฉัยเสีย คือ ไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่วอะไรควรอะไรไม่ควร เช่น บัณฑิตเห็นว่า"เหล้า" เป็นของจัญไรทำให้ขาดสติ นำความเสื่อมมาให้นานัปการแต่คนพาลกลับเห็นว่า "เหล้า" เป็นของประเสริฐเป็นเครื่องกระชับมิตร หรือบัณฑิตเห็นว่า "การเล่นไพ่" เป็นอบายมุข เป็นทางแห่งความฉิบหาย แต่คนพาลกลับเห็นว่า "การเล่นไพ่"เป็นสิ่งดี เป็นการฝึกสมองซ้อมวิชาคำนวณ ดังนี้เป็นต้น
คนพาลเป็นคนเหมือนกับเรา คือมีร่างกายประกอบด้วยเลือดเนื้อเช่นเดียวกับเรา และอาจมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเราก็ได้เช่น เป็นญาติพี่น้อง สามีภรรยา ครู อาจารย์ ฯลฯ อาจเป็นผู้มีการศึกษาสูง อาจมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง อาจมีสมัครพรรคพวกมากแม้กระทั่งอาจบวชเป็นพระภิกษุ ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไร มีความสัมพันธ์กับเราหรือไม่ ขึ้นชื่อว่าพาลแล้ว ถึงแม้จะมีความรู้ มีความสามารถก็ไม่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ถูกที่ควร เพราะเขาแสลงต่อความดี เหมือนคนไข้แสลงต่อน้ำเย็น
๒. คบบัณฑิต
บัณฑิตคือใคร ?
บัณฑิต คือคนที่มีใจผ่องใสอยู่เป็นปกติวิสัย ทำให้มีความเห็นถูกยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง สามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญา
-เป็นผู้รู้ดี คือ รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว
-เป็นผู้รู้ถูก คือ รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด
-เป็นผู้รู้ชอบ คือ รู้ว่าอะไรบุญอะไรบาป
บัณฑิต อาจเป็นใครก็ได้ เช่น อาจเป็นผู้อ่านหนังสือไม่ออก อาจเป็นชาวไร่ชาวนา อาจเป็นผู้ทีมีการศึกษาสูง อาจเป็นญาติของเรา ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามจะต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจผ่องใสและดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญา คือเป็นคนดีนั่นเอง
คนทั่วไปมักเข้าใจว่า ผู้ที่เรียนหนังสือจนได้รับปริญญานั้นคือ บัณฑิต แท้จริงนั่นเป็นเพียงบัณฑิตทางโลกเท่านั้น ยังไม่ใช่บัณฑิตที่แท้จริงเพราะผู้ที่ได้รับปริญญาแล้ว ถ้าความประพฤติไม่ดี อาจไปทำผิดติดคุกติดตะรางได้ แต่บัณฑิตที่แท้จริงย่อมเป็นผู้ตั้งใจละชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่ความดี ความถูกต้อง ความสุจริตสามารถป้องกันตนให้พ้นจากคุกจากตะรางและแม้กระทั่งจากนครได้ "บัณฑิตมิใช่ผู้มีเพียงปริญญา แต่คือผู้อุดมศีล สมาธิ ปัญญา"
๓. บูชาบุคคลที่ควรบูชา
การบูชาคืออะไร ?
การบูชา คือ การยกย่อง เชิดชู เลื่อมใส ด้วยความบริสุทธิ์ใจ จริงใจไม่เสแสร้งแกล้งทำ หมายถึงกิริยาอาการสุภาพ ที่เราแสดงต่อผู้ที่ควรบูชาทั้งต่อหน้าและลับหลัง การแสดงต่อหน้า เป็นการแสดงให้ท่านทราบว่าเรามีความเคารพและตระหนักในคุณธรรมความดีที่มีอยู่ในตัวของท่านอย่างจริงใจ การแสดงลับหลัง เป็นการเตือนใจตัวเราเอง ให้ผูกใจไว้กับคุณธรรมอันสูงส่งของท่าน ก่อให้เกิดความรู้สึกอยากกระทำตาม ใจเราจะได้ยกสูงขึ้นเสมอ ๆ ไม่เลื่อมไหลไปในทางชั่วร้าย
การบูชา เป็นอุบายอย่างหนึ่งสำหรับฝึกใจที่ยังหยาบกระด้างเพราะไม่อาจยอมรับคุณความดีของผู้อื่น ให้ละเอียดอ่อนลง ผู้ที่ยังด้อยปัญญายังไม่เข้าใจในคุณธรรมความดีของผู้ที่ควรบูชานัก แต่หากไม่เคยชินกับการบูชาแล้วในที่สุดย่อมสามารถเล็งเห็นคุณธรรมความดีที่มีอยู่ในตัวของผู้ที่เราบูชาได้อย่างแจ่มชัด จนเกิดความเลื่อมใสกลายเป็นการบูชาอย่างแท้จริงอยากทำความดีตามท่านบ้าง ผู้ใหญ่จึงควรสอนบุตรหลานให้รู้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยเป็นการปุลูกศรัทธาตั้งแต่เล็ก ๆ
๔. อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
ถิ่นที่เหมาะสมหมายถึงอย่างไร ?
ถิ่นที่เหมาะสม หมายถึง ถิ่นที่สิ่งแวดล้อมดี ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่สุขภาพกายและใจ ยิ่งกว่านั้น ยังสนับสนุนให้ผู้อยู่อาศัย สามารถประกอบกิจการงานในหน้าที่อันเป็นสัมมาอาชีพ ให้เจริญก้าวหน้าได้โดยง่าย และสร้างสมคุณงามความดีได้เต็มที่
ถิ่นที่เหมาะสม มีความหมายกว้าง ครอบคลุมถึงถิ่นที่อยู่ทุกระดับ เช่น บ้านที่เราอาศัย โรงเรียนที่เราเรียน สถานที่ที่เราทำงาน หมู่บ้านชุมชนที่เราอยู่ ตำบลที่เราตั้งหลักฐาน อำเภอ จังหวัด ประเทศ ทวีป
๕. มีบุญวาสนามาก่อน
บุญคืออะไร ?
บุญ คือ สิ่งซึ่งเกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำให้จิดใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมอง ขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากการที่ใจได้เพื่อนคิดที่ดี คือ พระธรรม ทำให้เลือกคิดเฉพาะสิ่งที่ดี ที่ถูก ที่ควร ที่เป็นประโยชน์แล้วพูดดี ทำดี ตามที่คิดนั้น
บุญเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมส่งผลปรุงแต่งใจของเราให้มีคุณภาพดีขึ้น คือ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว บริสุทธิ์ผุดผ่องสว่างไสว โปร่งโล่งไม่อึดอัด อิ่มเอิบ ไม่กระสับกระส่าย ชุ่มชื่นเบาสบาย ผ่อนคลายไม่ตึงเครียด นุ่มนวลควรแก่การใช้งาน และบุญที่เกิดขึ้นนี้ยังสามารถสะสมเก็บไว้ในใจได้อีกด้วย
ผู้ที่ฝึกสมาธิจนเข้าถึงธรรมกาย และฝึกจนชำนาญแล้ว ย่อมสามารถมองเห็นบุญได้ คนทั่วไปแม้จะมองไม่เห็น "บุญ" แต่ก็สามารถรู้อาการของบุญ หรือผลของบุญได้ คือ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ทำให้จิตใจชุ่มชื่น เป็นสุข เปรียบได้กับ "ไฟฟ้า" ซึ่งเรามองไม่เห็นตัวไฟฟ้าโดยตรง แต่เราสามารถสัมผัสกับอาการของไฟฟ้าได้ เช่น มองเห็นแสงสว่างจากหลอดไฟ ได้รับความเย็นจากเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
๖. ตั้งตนชอบ
ตั้งตนชอบ หมายถึงอย่างไร ?
ตั้งตนชอบ หมายถึง การตั้งเป้าหมายชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรมไว้ถูกต้องแล้วประคับประคองตน ให้ดำเนินชีวิตไปตามเป้าหมายนั้นด้วยความระมัดระวัง การตั้งตนชอบ เป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นขั้นตอนแรกในการสร้างความสุข ความเจริญก้าวหน้าแก่ชีวิต เพราะถ้าใครตั้งเป้าหมายชีวิตไว้ผิด เช่น ตั้งเป้าหมายนั้นด้วยความระมัดระวัง การตั้งตนชอบ เป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นขั้นตอนแรกในการสร้างความสุข ความเจริญก้าวหน้าแก่ชีวิต เพราะถ้าใครตั้งเป้าหมายชีวิตไว้ผิด เช่นตั้งเป้าไว้ว่าจะเป็นโจรที่ปล้นเก่งที่สุด หรือจะเป็นนักผลิตเฮโรอีนที่เก่งที่สุดแล้วพยายามดำเนินชีวิตไปตามนั้น คน ๆ นั้นก็ไม่มีทางที่จะมีความสุขความเจริญก้าวหน้าได้ ถึงจะไปเสาะแสวงหาความรู้ความสามารถได้มากเพียงไรก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด เพราะความรู้ความสามารถนั้น ๆ ล้วนเป็นไปเพื่อยังความพินาศให้เกิดขึ้นแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสิ้น
ผู้ที่รักความก้าวหน้าทั้งหลาย จึงจำเป็นต้องตั้งเป้าหมายชีวิตให้ถูกต้องก่อน จากนั้นจึงไปเสาะแสวงหาความรู้ความสามารถ พากเพียรพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายชีวิตที่ถูกต้องนั้นให้ได้
๗. เป็นพหูสูตร
พหูสูต หมายถึง "ความเป็นผู้ฉลาดรู้" คือผู้ที่รู้จักเลือกในสิ่งที่ควรรู้ เป็นผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมามาก ได้ยินได้ฟังมามาก และเป็นคนช่างสังเกต ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นต้นทางแห่งปัญญา ทำให้เกิดความรู้สำหรับบริหารงานชีวิตและเป็นกุญแจไขไปสู่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และทุกสิ่งที่ เราปรารถนา
ความแตกต่างระหว่างบัณฑิตและพหูสูต
บัณฑิต คือ ผู้มีคุณธรรมประจำใจ มีความประพฤติดีงาม ไม่ว่าจะมีความรู้มากหรือน้อยก็ตาม บัณฑิตจะใช้ความรู้นั้น ๆ สร้างประโยชน์แก่ตนเอง และผู้อื่นอย่างเต็มที่ เป็นผู้ที่สามารถเอาตัวรอดได้แน่นอน ไม่ตกไปสู่อบายภูมิเป็นอันขาด
พหูสูต คือ ผู้มีความรู้มาก แต่คุณธรรมความประพฤติยังไม่แน่ว่าจะดียังไม่แน่ว่าจะดี ยังไม่แน่ว่าจะเอาตัวรอดได้ ถ้าใช้ความรู้ที่มีอยู่ไปทำชั่ว เช่น เอาความรู้เคมีไปผลิตเฮโรอีน ก็อาจตกนรกได้
๘. มีศิลปะ
ศิลปะคืออะไร ?
ศิลปะ แปลว่า ฉลาดทำ คือ ทำเป็นนั่นเอง
พหูสูตนั้นเป็นผู้ฉลาดรู้ เรียนรู้ในหลักวิชา รู้ว่าอะไรเป็นอะไร รู้ว่าอะไรทำอย่างไร ส่วนศีลปะ เป็นความสามารถในทางปฏิบัติ คือสามารถนำความรู้นั้นมาใช้ให้บังเกิดผลได้
คนที่มีความรู้นั้น ไม่ใช่ว่าจะมีศีลปะทุกคน เช่นรู้วิธีหุงข้าว ว่าจะต้องเอาข้าวสารใส่หม้อซาวข้าว แล้วใส่น้ำยกขึ้นตั้งไฟ น้ำเดือดสักพักก็รินน้ำข้าวออกดงให้ระอุอีกครู่หนึ่ง ก็คดข้าวออกมากินได้ นี่คือหลักวิชา แต่คนที่รู้เพียงเท่านี้ไม่แน่นักว่าจะหุงข้าวกินได้ทุกคน อาจจะได้ข้าวดิบบ้าง แฉะบ้าง ไหม้บ้าง เพราะ ไม่มีศิลปะในการหุงข้าว ฉลาดรู้แต่ยังไม่ฉลาดทำ
เรื่องอื่น ๆ ก็เช่นกัน ไม่ว่าจะขับรถยนต์ เตะตะกร้อ ว่ายน้ำ ทำกับข้าว ลองดูก็ได้ว่า ถ้ารู้แต่ทฤษฎีอย่างเดียวจะทำได้หรือไม่
๙. มีวินัย
วินัยคืออะไร ?
วินัย หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ข้อบังบับสำหรับควบคุมความประพฤติทางกายของคนในสังคมให้เรียบร้อยดีงาม เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้อยู่ร่วมกัน ด้วยความสุขสบาย ไม่กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน ให้ห่างไกลจากความชั่วทั้งหลาย
การอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า ถ้าขาดระเบียบวินัย ต่างคนต่างทำตามอำเภอใจ ความขัดแย้งและลักลั่นก็จะเกิดขึ้น ยิ่งมากคนก็ยิ่งมากเรื่อง ไม่มีความสงบสุข การงานที่ทำก็จะเสียผล
ถ้าประชาชนแต่ละคนเป็นเสมือนดอกไม้แต่ละดอก ดอกไม้ทั้งหลายเหล่านี้จะด้อยค่าลง หากวางอยู่ระเกะระกะกระจัดกระจาย ทั้งยังทำให้รกรุงรังอีกด้วย แต่เมื่อเรานำดอกไม้เหล่านี้มาร้อยรวมเข้าด้วยกันด้วยเส้นด้ายดอกไม้เหล่า นี้ก็จะกลายเป็นพวงมาลัยอันงดงามเหมาะที่จะนำไปใช้ประดับตกแต่งให้ เจริญตาเจิรญใจ เส้นด้ายที่ใช้ร้อยดอกไม้ให้รวมกันอยู่อย่างมีระเบียบงดงามนั้นเปรียบเสมือน วินัย
วินัยจึงเป็นสิ่งที่ใช้ควบคมคน ให้คนเราใช้ความรู้ ความสามารถไปในทางที่ถูกที่ควร คือทำให้เป็นคน "ฉลาดใช้" นั่นเอง๑๐. มีวาจาสุภาษิต
วาจาสุภาษิตคืออะไร ?
วาจาสุภาษิต หมายถึง คำพูดที่ผู้พูดได้กลั่นกรองไว้ดีแล้วมิใช่สักแต่พูดอวัยวะในร่างกายของคนเรานี้ก็แปลก
ตา มีหน้าที่ดูอย่างเดียว ธรรมชาติให้มา ๒ ตา
หู มีหน้าที่ ฟังอย่างเดียว ธรรมชาติให้มา ๒ หู ca
จมูก มีหน้าที่ดมกลิ่นอย่างเดียว ธรรมชาติให้มา ๒ รู
แต่ปาก มีหน้าที่ถึง ๒ อย่าง คือทั้งกินและพูด ธรรมชาติกลับให้มาเพียงปากเดียว แสดงว่าธรรมชาติต้องการให้คนดูให้มาก ฟังให้มากแต่พูดให้น้อย ๆ ให้มีสติคอยระมัดระวังปากจะกินก็กินให้พอเหมาะ จะพูดก็พูดให้พอดี ลักษณะคำพูดที่พอเหมาะพอดี เป็นคุณทั้งแก่ตัวผู้พูดและผู้ฟังเรียกว่า วาจาสุภาษิต
๑๑. บำรุงบิดามารดา
พระคุณของพ่อแม่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอุปมาว่า ถ้าบุตรจะพึงวางบิดามารดาไว้บนบ่าทั้งสองของตน ประคับประคองท่านอยู่บนบ่านนั้น ป้อนข้าวป้อนน้ำและให้ท่านถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่านั้นเสร็จ แม้บุตรจะมีอายุถึง ๑๐๐ ปี และปรนนิบัติท่านไปจนตลอดชีวิต ก็ยังนับว่าตอบแทนพระคุณท่านไม่หมด
ยังมีผู้อุปมาไว้ว่า หากเราใช้ท้องฟ้าแทนกระดาษ ยอดเขาพระสุเมรุแแทนปากกาน้ำในมหาสมุทรแทนหมึก เขียนบรรยายคุณของพ่อแม่ จนท้องฟ้าเต็มไปด้วยอักษร ภูเขาสึกกร่อนจนหมด น้ำในมหาสมุทรเหือดแห้งก็ยังบรรยายคุณของพ่อแม่ไม่หมด
บิดามารดาเป็นผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ของบุตร สรุปโดยย่อคือ
๑.เป็นต้นฉบับทางกาย แบบเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำให้ของทั้งหลายในโลกมีค่าสูงขึ้น ตัวอย่างเช่นก้อนดินเหนียวธรรมดา ถ้าหากนำมาใส่แบบพิมพ์แล้วพิมพ์เป็นตุ๊กตา ก็ทำให้ดินก้อนนั้นมีค่าขึ้นมาเป็นเครื่องประดับบ้านเรือนได้ดินเหนียวก้อนเดียวกันนี้ หากได้แบบที่ดีกว่าขึ้นมาอีกเช่นแบบเป็นพระพุทธรูปก็จะเห็นได้ว่าคุณค่าของดินเหนียวก้อนนี้ทรงคุณค่ามากยิ่งขึ้น ผู้คนได้กราบไหว้บูชา จะเห็นได้ว่าคุณค่าของดินเหนียว ก้อนนี้ขึ้นอยู่กับแแบบที่พิมพ์นั่นเอง ในทำนองเดียวกัน การเกิดของสัตว์ เช่นเป็น ช้าง มัา วัว ควาย ฯลฯ แม้จะมีปัญญาติดตัวมามากสักปานใดก็ไม่สามารถทำความดีได้เต็มที่ โชคดีที่เราได้แบบเป็นคน ซึ่งเป็นโครงร่างที่ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลาย เหมาะในการทำความดีทุกประการ พระคุณขงอพ่อแม่ในการเป็นต้นแบบทางกายให้เรา ก็นับว่ามีมากเหลือหลายแล้วยิ่งท่านอบรม เลี้ยงดูเรามาเป็นต้นแบบทางใจให้ด้วย ก็ยิ่งมีพระคุณมากเป็นอเนกนันต์
๒.เป็นต้นแบบทางใจ ให้ความอุปการะเลี้ยงดู ฟูมฟัก ทะนุถนอมอบรมสั่งสอน ปลูกฝังกิริยามารยาท ให้ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมแก่ลูก
๑๒. เลี้ยงดูบุตร
ทำไมจึงต้องเลี้ยงดูบุตร
วันหนึ่งเราต้องแก่และตาย สิ่ที่ยากได้กับทุกคน คือ ความปีติ ความปลื้มใจ ไว้หล่อเลี้ยงใจให้สดชื่น ความปลื้มปีติจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้เห็น ผลแห่งความดี หรือผลงานดี ๆ ที่เราทำไว้ ยิ่งผลงานดีมากเท่าไร ยิ่งชื่นใจมากเท่านั้นแล้วอายุจะยืนยง สุขภาพจะแข็งแรง
สุดอดผลงานของนักปฏิบัติธรรม คือ การกำจัดกิเลสในตัวให้หมด
สุดยอดผลงานของโลก คือ การมีลูกหลานเป็นคนดี
ถ้าลูกหลานเป็นคนเลว มันช้ำใจยิ่งกว่าถูกใครจับใส่ครกโขลกเสียอีก
เลี้ยงสุนัขแล้วกัดสู้สุนัขคนอื่นไม่ได้ยังเจ็บใจ
เลี้ยงลูกแล้วดีสู้ลูกคนอื่นไม่ได้มันจะช้ำใจสักแค่ไหน
๑๓. สงเคราะห์ภรรยา (สามี)
ความหมายของสามี – ภรรยา
สามี แปลว่า ผู้เลี้ยง ผัว
ภรรยา แปลว่า คนควรเลี้ยง เมีย
คำทั้งสองนี้ เป็นคำที่แฝงความหมายอยู่ในตัว และเป็นคำคู่กัน ผู้ชายที่ได้ชื่อว่าสามี ก็เพราะเลี้ยงดูภรรยา ผู้หญิงที่จะได้ชื่อว่าภรรยาก็เพราะทำตัวเป็นคนน่าเลี้ยง
๑๔. ทำงานไม่คั่งค้า่ง
เหตุที่ทำให้งานคั่งค้าง
๑. ทำงานไม่ถูกกาล ยังไม่ถึงเวลาทำก็ร้อนใจด่วนไปทำ แต่พอถึงเวลาควรทำกลับไม่ทำ เช่น ตอนแดดออกมัวไปถูบ้านพอฝนตกกลับไปซักผ้าตากเท่าไหร่ก็ไม่แห้ง หรือตอนเด็กไม่ยอมเรียนหนังสือ เที่ยวสำมะเลเทเมา พอแก่เฒ่าจะมาเรียนก็เรียนไม่ไหวแล้ว
๒. ทำงานไม่ถูกวิธี ทำผิดขั้นตอน ผิดลำดับ เช่นจะทำความสะอาดบ้านก็ไปกวาดพื้นก่อน แล้วกวาดเพดานที่หลัง ฝุ่นผงต่างๆก็ตกลงมาต้องกวาดพื้นใหม่อีก เป็นต้น
๓. ไม่ยอมทำงาน ชอบผัดวันประกันพรุ่ง หรือหาเหตุต่างๆ นานามาอ้าง เช่น รอฤกษ์รอยาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าเราจะทำความดีเมื่อไหร่ ฤกษ์ก็ดีเมื่อนั้น ไม่ต้องรอ ทำไปได้เลย ประโยชน์ย่อมเป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง “ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนโง่ ผู้มัวรอฤกษ์ยามอยู่”
๑๕. บำเพ็ญทาน
ทานคืออะไร ?
ทาน แปลว่า การให้ หมายถึงการสละสิ่งของของตน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
การให้ทาน เป็นพื้นฐานความดีของมนุษย์ชาติ และเป็นสิ่งที่ขาดเสียมิได้ในการจรรโลงสันติสุข
พ่อแม่ถ้าไม่ให้ทาน คือไม่เลี้ยงเรามา เราเองก็ตายเสียตั้งแต่เกิดแล้ว
สามีภรรยา หาทรัพย์มาได้ ไม่ปันกันใช้ ก็บ้านแตก
ครู อาจารย์ ถ้าไม่ให้ทาน คือ ไม่สั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้แก่เราเราก็โง่ดักดาน
คนเรา ถ้าโกรธแล้ว ไม่ให้อภัยทานกัน โลกนี้ก็เป็นกลียุค
ชีวิตของคนเราจึงดำรงอยู่ได้ด้วยทาน เราโตมาได้ก็เพราะทาน เรามีความรู้ในด้านต่างๆก็เพราะทาน โลกนี้จะมีสันติสุขได้ก็เพราะทาน การให้ทานจึงเป็นสิ่งจำเป็น และมีคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อมนุษย์ชาติ
๑๖. ประพฤติธรรม
การประพฤติธรรมคืออะไร?
การประพฤติธรรม คือ การประพฤติตนให้อยู่ในกรอบของความถูกต้องและความดี ทั้งปรับปรุงพฤติกรรมของตนให้ดีสมกับที่เกิดเป็นคนและให้มีความเที่ยงธรรม ไม่ลำเอียง
เราจะเห็นได้ว่า การประพฤติธรรมนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นมงคลที่ ๑๖ ก่อนมงคลที่ ๑๗ และ ๑๘ คือ การสงเคราะห์ญาติ และการทำงานไม่มีโทษ
เหตุที่พระองค์ทรงวางลำดับมงคลว่าด้วยการประพฤติธรรมไว้ตรงนี้ก็เพราะในการสงเคราะห์ญาติและการทำงานไม่มีโทษ ซึ่งเป็นการทำงานเพื่อส่วนรวมนั้น เราต้องมีการทำงานติดต่อกับคนจำนวนมาก ซึ่งมีอัธยาศัยต่างๆกันไป ถ้าไม่ระมัดระวังให้ดีแล้ว โอกาสที่จะกระทบกระทั่งกันก็มีมาก โอกาสที่เราจะทำให้งานเสียเพราะขาดความเป็นธรรมก็มีมากเช่นกัน
ดังนั้น ก่อนทำงานเพื่อส่วนรวมจึงต้องประพฤติธรรม เพื่อเป็นการปรับปรุงตนให้พร้อมที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างผาสุก ไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและผู้อื่น ซึ่งได้แก่การประพฤติปฏิบัติตน ๒ ลักษณะควบคู่กันไป ได้แก่
๑. ประพฤติเป็นธรรม
๒. ประพฤติตามธรรม
๑๗. สงเคราะห์ญาติ
ญาติคือใคร ?
ญาติ แปลว่า คนคุ้นเคย คนใกล้ชิด หมายถึงบุคคลที่คุ้นเคยและวางใจกันได้มี ๒ ประเภทได้แก่
๑. ญาติทางโลก แบ่งได้เป็น ๒ พวกคือ
- ญาติโดยสายโลหิต เช่น ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา พี่ น้อง หลาน เหลน ฯลฯ (สำหรับพ่อแม่ ลูก ภรรยา สามี ถือว่าเป็นคนที่ใกล้ชิดเรามากที่สุด ขอให้กันไว้ต่างหากเพราะเรามีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านี้ต่างกันออกไป)
- ญาติโดยความใกล้ชิดคุ้นเคย เช่น เป็นเพื่อนสนิทสนมกับเราโดยตรง หรือสนิทสนมกับญาติทางสายโลหิตของเรา
๒. ญาติทางธรรม หมายถึงผู้เป็นญาติเพราะเหตุ ๔ ประการคือ
- เป็นญาติเพราะบวชให้เป็นภิกษุ
- เป็นญาติเพราะบวชให้เป็นสามเณร
- เป็นญาติเพราะให้นิสัย
- เป็นญาติเพราะสอนธรรมะให้
๑๘. ทำงานไม่มีโทษ
งานไม่มีโทษคืออะไร
งานไม่มีโทษ หมายถึง งานที่ไม่มีตำหนิ ดีพร้อม ยุติธรรม ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่เบียดเบียนใคร แต่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและผู้อื่น
ความสามารถในการทำงานของคน มีอยู่ ๒ ระดับ คือ “ขั้นทำได้” กับ “ขั้นทำดี”
“ทำได้” หมายถึง การทำงานสักแต่ให้เสร็จๆไป จะเกิดประโยชน์หรือไม่ เพียงใด ไม่ต้องคำนึง เป็นลักษณะของคนไม่รับผิดชอบงาน
“ทำดี” หมายถึง การเป็นผู้คิดให้รอบคอบ ถึงผลได้
ผลเสียทุกแง่มุมแล้วจึงเลือกทำเฉพาะแต่ที่เป็นประโยชน์จริงๆ สิ่งใดที่ไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นเพียงพอ ก็ไม่ทำสิ่งนั้น พูดสั้นๆก็คือ ถ้าทำต้องให้ดี ถ้าไม่ดีต้องไม่ทำ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง “ทำได้” หมายถึง ทำสิ่งต่างๆได้ตามที่ตนอยากได้อยากทำ เช่น อยากด่าใครก็ด่า อยากได้ยศ อยากได้ตำแหน่ง ก็มุ่งมั่นช่วงชิงเอาให้ได้ ผิดถูกชั่วดีอย่างไรไม่ต้องคำนึง การทำได้จึงเป็นเพียงคุณสมบัติขั้นต้นของคนทำงานเท่านั้น มือชั้นดีจริงแล้ว ต้องถึงขั้น “ทำดี” คนทำดีนั้นมีคุณสมบัติในตัวถึง ๒ อย่างคือนอกจากจะ “ทำได้” แล้วยังสามารถเลือก “ไม่ทำก็ได้” ถ้าเห็นว่าทำแล้ว จะไม่ดี อย่างนี้จึงจะเก่งแท้
อาจจะเปรียบได้ว่า คนทำงานขั้นทำได้ก็เหมือนกับ เด็กทารกที่เพิ่งรู้จักกิน ทำเป็นแต่เพียงหยิบอะไรใส่เข้าปาก แล้วกลืนลงท้องไป กินขั้นนี้เรียกว่า “กินได้” ยังไม่ใช่คนกินเป็น ยังไม่มีความดีวิเศษอะไรนัก ถ้าพี่เลี้ยงเผลออาจหยิบสิ่งที่เป็นพิษใส่เข้าปากแล้วกลืนลงท้อง ให้ผู้ใหญ่เดือดร้อนต้องวิ่งหาหมอก็ได้ แต่คน “กินเป็น” จะต้องรู้จักเลือกของกิน เห็นว่าควรกินจึงกิน ถ้าไม่ควรกินก็ไม่กิน เช่นกัน นักทำงานที่เก่งแท้ ต้องถึง “ทำดี” คือ ไม่ใช่สักแต่ว่าทำงานได้ แต่ต้องเห็นว่างานที่จะทำเป็นงานที่ดีควรทำจึงลงมือทำ
๑๙. งดเว้นจากบาป
บาปคืออะไร ?
สิ่งของที่เสีย เรามีชื่อเรียกต่างๆ กันไป เช่น บ้านเสียเราเรียกบ้านชำรุด อาหารเสียเราเรียก อาหารบูด ฯลฯ คำจำพวกที่ว่า บูด ชำรุด แตกหัก ผุพัง เน่า ขาด ขึ้นรา ฯลฯ ถ้าพูดรวมๆ เรียกว่า เสีย หมายความว่า มันไม่ดี
อาการเสียของจิตก็เหมือนกัน เราเรียกแยกได้หลายอย่าง เช่น จิตเศร้าหมอง จิตเหลวไหล ใจร้าย ใจดำ ใจขุ่นมัว ฯลฯ แล้วแต่จะบอกอาการทางไหน คำว่า เศร้าหมอง เหลวไหล ต่ำทราม ร้ายกาจ เป็นคำบอกว่าจิตเสีย ซึ่งความเสียของจิตนี้ทางศาสนาท่านใช้คำสั้นๆ ว่า “บาป” คำว่าบาป จึงหมายถึงความเสียของจิตนั่นเอง คือการที่ใจมีคุณภาพต่ำลง ไม่ว่าจะเสียในแง่ไหนก็เรียกว่าบาปทั้งสิ้น
๒๐. สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
สำรวมจากการดื่มน้ำเมาหมายถึงอะไร
น้ำเมา โดยทั่วไปหมายถึงเหล้า แต่ในที่นี้หมายถึง ของมึนเมาให้โทษทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำหรือแห้ง รวมทั่งสิ่งเสพย์ติดทุกชนิด
ดื่ม ในที่นี้หมายถึงการทำให้ซึมซาบเข้าไปในร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธี ดื่ม ดม อัด นัตถุ์ สูบ ฉีด ก็ตาม
สำรวม หมายถึง ระมัดระวังในนัยหนึ่ง และเว้นขาดในอีกนัยหนึ่ง
เหตุที่ใช้คำว่าสำรวม
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประเภทมีเหตุผล บางศาสนาเห็นโทษของเหล้า เห็นโทษของแอลกอฮอล์ เพราะฉะนั้นนอกจากห้ามดื่มแล้วเอามาทาแผลก็ไม่ได้ คนตายแล้วเอาแอลกอฮอล์มาเช็ดล้างศพก็ไม่ได้เพราะเป็นของบาป
แต่ในพระพุทธศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามเหมารวมหมดอย่างนั้น เพราะ ทรงมองเห็นว่าเหล้าหรือสิ่งเสพย์ติดแม้จะมีโทษมหันต์ แต่ในบางกรณีก็อาจนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ เช่น ใช้ฉีดระงับความเจ็บปวด หรือยาบางอย่างต้องอาศัยเหล้าสกัดเอาตัวยาออกมาเพื่อใช้รักษาโรค คือเอาเหล้าเพียงเล็กน้อยมาเป็นกระสายยา ไม่มีรสไม่มีกลิ่นเหล้าคงอยู่ อย่างนี้ในพระพุทธศาสนาไม่ได้ห้าม แต่บางคนที่อยากจะดื่มเหล้าแล้วหาข้ออ้างนำเหล้ามาทั้งขวด เอายาใส่ไปนิดหน่อยอย่างนั้นเป็นการเอายามากระสายเหล้า ใช้ไม่ได้
โดยสรุปสำรวมจากการดื่มน้ำเมา จึงหมายถึง การระมัดระวังเมื่อใช้สิ่งเสพย์ติดทั้งหลายในการรักษาโรค และเว้นขาดจากการเสพสิ่งเสพย์ติดให้โทษทุกชนิดไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม
๒๑. ไม่ประมาทในธรรม
ความไม่ประมาทคืออะไร ?
ความไม่ประมาท คือ การมีสติกำกับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด จะพูด จะทำสิ่งใดๆ ไม่ยอมถลำลงไปในทางที่เสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสในการทำความดี ตระหนักดีถึงสิ่งที่ต้องทำ ถึงกรรมที่ต้องเว้นใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย กระทำอย่างจริงจังและดำเนินรุดหน้าตลอดเวลา
ความไม่ประมาทเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง กล่าวได้ว่าคำสอนในพุทธศาสนาทั้งหมด เมื่อสรุปแล้ว ก็คือสอนให้เราไม่ประมาท ดังจะเห็นได้จากปัจฉิมโอวาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจักเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด”
ไม่ประมาทในธรรมหมายความว่าอย่างไร
คำว่า “ธรรม” ในที่นี้หมายถึง คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาแปลเอาความท่านแปลว่าเหตุ หมายถึงต้นเหตุ ข้อธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกข้อ ถ้าดูให้ดีแล้วล้วนแต่เป็นคำบอกเหตุทั้งสิ้นคือ บอกว่าถ้าทำเหตุอย่างนี้แล้ว จะเกิดผลอย่างนั้น หรือไม่ก็บอกว่าผลอย่างนี้เกิดมาจากเหตุอย่างนั้น เช่น ความขยันหมั่นเพียรเป็นเหตุให้เกิดความเจริญ ความเกียจคร้านเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อม
ดังนั้น “ไม่ประมาทในธรรม” จึงหมายถึง “ไม่ประมาทในเหตุ” ให้มีสติรอบคอบตั้งใจทำเหตุที่ดีอย่างเต็มที่ เพื่อให้บังเกิดผลดีตามมานั่นเอง
๒๒. มีความเคารพ
ความเคารพคืออะไร ?
ความเคารพ หมายถึง ความตระหนักซาบซึ้งรู้ถึงคุณความดีที่มีอยู่จริงของบุคคลอื่น ยอมรับนับถือความดีของเขาด้วยใจจริง แล้วแสดงความนับถือต่อผู้นั้นด้วยการแสดงความอ่อนน้อม อ่อนโยน อย่างเหมาะสมทั้งต่อหน้าและลับหลัง
วัตถุทั้งหลายในโลก ต่างมีคุณสมบัติเฉพาะตัวของมัน ถ้าใครทราบคุณสมบัติเหล่านั้นตามความเป็นจริง ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น นักวิทยาศาสตร์รู้คุณสมบัติของแม่เหล็ก ก็นำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ รู้คุณสมบัติของแร่เรเดียม ก็นำไปใช้รักษาโรคมะเร็งได้
แต่การที่จะรู้คุณสมบัติตามความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ นั้นทำได้ยากมาก เป็นวิสัยของนักปราชญ์ ของผู้มีปัญญาเท่านั้น
เช่นกัน คนทั้งหลายในโลก ต่างก็มีคุณความดีในตัวต่างๆ กันไปมากบ้างน้อยบ้างไม่เท่ากัน ผู้ใดทราบถึงคุณความดีของบุคคลทั้งหลายได้ตามความเป็นจริง ก็จะเป็นประโยชน์ ทำให้มีโอกาสที่จะถ่ายทอดคุณความดีนั้นๆ จากผู้อื่นมาสู่ตนเอง แต่การจะสามารถรู้เห็นถึงคุณความดีของผู้อื่นก็ทำได้ยาก ยิ่งกว่าการรู้คุณสมบัติของวัตถุต่างๆ เพราะมีกิเลสมาบังใจ เช่น มีความคิดลบหลู่คุณท่านบ้าง ความไม่ใส่ใจบ้าง ความทะนงตัวบ้าง ทำให้มองคนอื่นกี่คนๆ ก็ไม่เห็นมีใครดี คนนั้นก็ไม่ดี คนนี้ก็ไม่ดี คนไหนก็ไม่ดี ไม่เห็นมีใครดีสักคน ถ้าจะมีก็เห็นจะมีอยู่คนเดียว...ใคร? ตัวเอง
คนพวกนี้เป็นพวกตาไม่มีแวว คือ ตาก็ใสๆ ดี แต่ไม่เห็นเพราะขาดความสังเกต มองคุณความดีของคนอื่นไม่ออก เมื่อมองความดีของเขาไม่ออกก็ไม่สนใจที่จะถ่ายทอดเอาความดีของเขา เข้ามาสู่ตัวเอง
ดังนั้น คนที่มีปัญญามากจนกระทั่งตระหนักในคุณความดีของผู้อื่นจึงจัดเป็นคนพิเศษจริงๆ เพราะใจของเขาได้ยกสูงขึ้นแล้ว พ้นจากมานะต่างๆ เปิดกว้าง พร้อมที่จะรองรับความดีจากผู้อื่นเข้าสู่ตน คนชนิดนี้คือ คนที่มีความเคารพ
๒๓. มีความถ่อมตน
ความถ่อมตนคืออะไร ?
ความถ่อมตนมาจากภาษาบาลีว่า “นิวาโต”
วาโต แปลว่า ลม พองลม
นิ แปลว่า ไม่
นิวาโต แปลว่า ไม่พองลม เอาลมออกแล้ว คือ เอามานะทิฐิออกมีความสงบเสงี่ยม เจียมตน ไม่เบ่ง ไม่ทะนงตน ไม่มีความมานะถือตัว ไม่อวดดื้อถือดี ไม่ยโสโอหัง ไม่ดูถูกเหยียดหยามใคร ไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง จองหอง
ความแตกต่างระหว่างความเคารพกับความถ่อมตน
ความเคารพ เป็นการปรารภผู้อื่น คือ ตระหนักในคุณงามความดีของผู้อื่น พบใครก็คอยจ้องหาข้อดีของเขา ไม่จับผิด สามารถประเมินคุณค่าของผู้อื่นได้ตามความเป็นจริง แล้วแสดงอาการเคารพนับถือด้วยกาย วาจา ใจ
ส่วนความถ่อมตน เป็นการปรารภตนเอง คือ คอยตามพิจารณาข้อบกพร่องของตนเอง จับผิดตัวเอง สามารถประเมินค่าของตนเองได้ถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่อวดดื้อถือดี สามารถน้อมตัวลงเพื่อถ่ายทอดคุณความดีของผู้อื่นเข้าสู่ตัวได้เต็มที่
คนที่มีความเคารพอาจขาดความถ่อมตนก็ได้ เช่น บางคนเมื่อพบคนดีก็ตระหนักในความดีความสามารถของเขา คือมีความเคารพแต่ขณะเดียวกันถ้าจะให้อ่อนเข้าไปหาเขาทำไม่ได้ ชอบเอาตัวเข้าไปเทียบด้วย แล้วใจของตัวก็พองรับทันทีว่า “ถึงเอ็งจะแน่ แต่ข้าก็หนึ่งเหมือนกัน” ใจของเขาจะพองเหมือนอึ่งอ่างพองลม คอยแต่คิดว่า “ข้าวิเศษกว่า” ทุกที
๒๔. มีความสันโดษ
สันโดษคืออะไร ?
สันโดษ มาจากภาษาบาลีว่า สันโตสะ สัน แปลว่า ตน โตสะ แปลว่า ยินดี สันโดษจึงแปลว่ายินดี ชอบใจ พอใจ อิ่มใจ จุใจ สุขใจ กับของของตน ความหมายโดยย่อคือให้รู้จักพอ รู้จักประมาณ
เรื่องสันโดษนี้ เป็นเรื่องหนึ่งที่มีผู้เข้าใจผิดกันมาก เข้าใจกันว่าสันโดษทำให้ยากจนบ้างละ เข้าใจว่าสันโดษทำให้เกียจคร้านบ้างละ เข้าใจว่าสันโดษขัดขวางความเจริญบ้างละ ขอให้เรามาพิจารณากันต่อไปว่า ความเข้าใจของคนทั้งหลายนั่นเป็นจริงหรือไม่ ลักษณะสันโดษที่แท้จริงเป็นอย่างไร มีคุณหรือโทษ
๒๕. มีความกตัญญู
ความกตัญญูคืออะไร ?
ความกตัญญู คือ ความรู้คุณ หมายถึงความเป็นผู้มีใจกระจ่าง มีสติ มีปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน ผู้ใดก็ตามที่ทำคุณแก่ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากก็ตาม น้อยก็ตาม เช่น เลี้ยงดูสั่งสอน ให้ที่พัก ให้งานทำ ฯลฯ
ย่อมระลึกถึงด้วยความซาบซึ้งอยู่เสมอ ไม่ลืมอุปการคุณนั้นเลย
อีกนัยหนึ่ง ความกตัญญู หมายถึง ความรู้บุญ หรือรู้อุปการะของบุญที่ตนทำไว้แล้ว รู้ว่าที่ตนเองพ้นจากภัยอันตรายทั้งหลายได้ดีมีสุขอยู่ในปัจจุบันก็เพราะบุญทั้งหลายที่เคยทำไว้ในอดีตส่งผลให้ จึงไม่ลืมอุปการะของบุญนั้นเลย และสร้างสมบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
รวมความ กตัญญู จึงหมายถึง การรู้จักบุญคุณ อะไรก็ตามที่เป็นบุญ หรือมีคุณต่อตน แล้วก็ตามระลึกนึกถึงด้วยความซาบซึ้งไม่ลืมเลย คนมีกตัญญูถึงแม้จะนัยน์ตาบอดมืดทั้งสองข้าง แต่ใจของเขาใสกระจ่างยิ่งกว่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ รวมกันเสียอีก
๒๖. ฟังธรรมตามกาล
การฟังธรรมตามกาลหมายถึงอะไร ?
การฟังธรรมตามกาล คือ การขวนขวายหาเวลาไปฟังธรรมคำสั่งสอนจากผู้มีธรรมะ เพื่อยกระดับจิตใจและสติปัญญาให้สูงขึ้น โดยเมื่อฟังธรรมแล้วก็น้อมเอาคุณธรรมเหล่านั้นมาเป็นกระจกสะท้อนดูตนเองว่า มีคุณธรรมนั้นหรือไม่ จะปรับปรุงคุณธรรมที่มีอยู่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปได้อย่างไร
เช่นเมื่อได้ฟังธรรมเรื่องความอดทนแล้ว ก็นำเรื่องนี้มาตรวจดูใจตนเองทันทีว่า เรามีความอดทนไหม ถ้ามี มีมากน้อยเพียงไร อดทนหรือไม่อดทนต่อสิ่งใดเช่น อดได้เหมือนกัน แต่ไม่ค่อยทน คือ อดข้าวอดปลาได้ แต่ทนต่อการยั่วยุ ทนต่อคำนินทาไม่ได้ อย่างนั้นหรือเปล่า เมื่อฟังธรรมแล้วตรวจดูจะรู้ทันทีว่า เราขาดอะไรไป จะตกแต่งต่อเติมอย่างไรจึงจะดี
๒๗. มีความอดทน
ความอดทนคืออะไร ?
ความอดทน มาจากคำว่า ขันติ หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย ของหอม ของสกปรกหรือของดีงามก็ตาม
งานทุกชิ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่ ที่สำเร็จขึ้นมาได้นอกจากจะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำแล้ว ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมอันหนึ่งเป็นพื้นฐานจึงสำเร็จได้ คุณธรรมอันนั้นคือ ขันติ
ถ้าขาดขันติเสียแล้ว จะไม่มีงานชิ้นใดสำเร็จได้เลย เพราะขันติเป็นคุณธรราสำหรับทั้งต่อต้านความท้อถอยหดหู่ ขับเคลื่อนเร่งเร้าให้เกิดความขยัน และทำให้เห็นอุปสรรคต่างๆ เป็นเครื่องท้าทายความสามารถ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ความสำเร็จของงานทุกชิ้น ทั้งทางโลกและทางธรรม คืออนุสาวรีย์ของขันติทั้งสิ้น
๒๘. เป็นคนว่าง่าย
คนว่าง่ายคือใคร ?
คนว่าง่ายสอนง่าย คือ คนที่อดทนต่อคำสั่งสอนได้ เมื่อมีผู้รู้แนะนำพร่ำสอนให้ ตักเตือนให้โดยชอบธรรมแล้ว ย่อมปฏิบัติตามคำสอนนั้นโดยความเคารพอ่อนน้อม ไม่คัดค้าน ไม่โต้ตอบ ไม่แก้ตัวโดยประการใดๆ ทั้งสิ้น
คนบางคน อดทนอะไรได้สารพัด ทนแดดทนร้อน ทนความลำบากตรากตรำ ป่วยไข้ไม่สบายแค่ไหน ก็ไม่เคยบ่น
แต่ทนไม่ได้เมื่อมีใครมาแนะนำสั่งสอนตักเตือน จะเกิดความรู้สึกคับแค้น โต้ตอบหักล้างขึ้นมาทันที เพราะเขามีเชื้อหัวดื้อ ว่ายากสอนยากอยู่ในตัว
หากว่าเดิมเป็นคนโง่อยู่แล้ว ก็สุดแสนจะเข็น
หากว่ามีความฉลาดอยู่บ้าง ก็แสนจะตะบึงตะบัน
กลายเป็นคนอัมพาตทางใจ รับคุณความดีจากใครไม่ได้
ดังนั้น เราจงมาเป็นคนว่าง่ายสอนง่ายกันเถิด
๒๙. เห็นสมณะ
ความสุขทั้งหลายในโลกนี้มีอยู่ ๒ ประเภท คือ
๑.ความสุขที่ต้องอิงวัตถุกามหรือกามสุข เป็นความสุขทางเนื้อหนัง เช่น ได้ฟังเพลงเพราะๆ กินอาหารอร่อยๆ ได้สัมผัสที่นุ่มนวล ฯลฯ จัดเป็นความสุขภายนอก ที่เห็นกันได้ง่าย
๒.ความสุขที่ไม่ต้องอิงวัตถุ เป็นความสุขที่เกิดขึ้นจากการเจริญภาวนาให้ใจสงบและเกิดปัญญา เป็นความสุขของผู้เข้าถึงธรรมจัดเป็นความสุขภายใน เมื่อเทียบกันแล้ว ความสุขภายใน อันเกิดจากความสงบนั่นเป็นสุขที่เลิศกว่าอย่างเทียบไม่ได้แต่เห็นและเข้าใจได้ยากกว่า
ความสุขภายในนั้น เป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เพราะเราคาดคะเนไม่ได้ เป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้ที่ยังไม่ปฏิบัติธรรมก็จะไม่พบกับความสุขชนิดนี้ ทำให้ไม่คุ้น แม้อ่านจากตำราก็ยากจะเข้าใจ เช่นพระท่านบอกว่าผู้ที่รักษาศีลแล้วจะมีจิตที่ร่าเริงแจ่มใส ถ้าคนยังไม่เคยปฏิบัติธรรมจะนึกค้านทันทีว่า คนรักษาศีลจะร่าเริงได้อย่างไร จะทำอะไรนิดอะไรหน่อยก็ต้องคอยระวังจะผิดศีล สู้คนไม่มีศีลไม่ได้ จะดื่มเหล้าก็ดื่ม จะเที่ยวก็เที่ยว เห็นพวกขี้เมาร้องรำทำเพลง เชียร์มวยแทงม้าส่งเสียงกันอึงคะนึงร่าเริงสนุกสนานกว่าตั้งเยอะ แล้วมาบอกว่ารักษาศีลแล้วจิตจะร่าเริงแจ่มใส อย่ามาหลอกกันให้ยากเลย เราไม่ยอมเชื่อหรอก
ต่อเมื่อใด ได้พบคนที่เข้าถึงความสุขชนิดนี้ได้ เห็นคนที่รักษาศีลมาแแล้ว
อย่างดีเยี่ยม หน้าตาท่านก็ผ่องใส ไม่บึ้งไม่ตึง พูดจาก็ไพเราะถึงได้เชื่อว่า เออจริง คนที่รักษาศีลมาแล้วอย่างดี เขาร่าเริง แต่ร่าเริงอีกอย่างไม่เหมือนที่เราเคยเห็นไม่เหมือนที่เราเคยรู้จัก ถึงแม้ยังไม่เชื่ออย่างน้อยก็คิดที่จะทดลองทำตาม แม้ไม่ได้ทำตามก็ฉุกคิดถึงการทำความดีบางอย่างขึ้นมา
คนที่เข้าถึงความสุขชนิดนี้ได้ คือ สมณะ ซึ่งถ้าใครได้เห็นแล้วจะเกิดแรงบันดาลใจให้คิดถึงธรรม เหมือนระเบิดที่ถูกจุดชนวนย่อมแสดงอานุภาพออกมาเต็มที่ สติปัญญา ความรู้ความสามารถที่มีอยู่จะถูกสมณะกระตุ้นให้เอาออกมาใช้สร้างความดีให้เต็มที่
๓๐. สนทนาธรรมตามกาล
ทำไมจึงต้องสนทนาธรรมตามกาล
“ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของคน” นี่คือพุทธวจนะที่แสดงให้เห็นคุณค่าของปัญญา เพราะขีวิตคนนั้นมีปัญหามาก ปัญหาเหล่านั้นล้วนต้องแก้ด้วยปัญญา ใครมีปัญญามากก็เหมือนมีแก้วสารพัดนึกไว้ในตัว ย่อมสามารถฝ่า
ฟันอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ได้โดยง่าย
ปัญญาเกิดได้จาก ๒ เหตุใหญ่คือ
๑.จากการฟังธรรมของกัลยาณมิตร ผู้มีปัญญารู้จริง
๒.จากการพิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคาย
วิธีลัดที่จะทำให้เกิดปัญญาอย่างรวดเร็ว คือ การสนทนาธรรมตามกาล ซึ่งเป็นการบังคับให้ตนเองต้องทั้งฟังทั้งพูด ต้องเป็นนักฟังที่ดี ฟังผู้อื่นพูดด้วยความตั้งใจ ฟังแล้วก็ต้องพิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคายตามไปทันที สงสัยอะไรก็สามารถซักถามได้ นอกจากนั้นถ้าตนเองมีความรู้ในธรรมะเรื่องใดก็นำมาพูดเล่าให้ผู้อื่นฟังได้ด้วย
แต่ทั้งหมดนี้จะต้องทำอย่างระมัดระวัง มิฉะนั้นจะเกิดโทษมากกว่าคุณ
๓๑. บำเพ็ญตบะ
ทำไมจึงต้องบำเพ็ญตบะ ?
ผ่านบันไดชีวิตมาแล้ว ๓๐ ขั้น เราจะพบว่านิสัยไม่ดีความประพฤติที่ไม่ดีของตัวเราที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นยังมีอยู่อีกมาก บางอย่างที่เราได้พยายามแก้ไขปรับปรุงแล้วมันก็ดีขึ้นตามลำดับ เคยมีโกรธ เห็นแก่ตัว ขี้อิจฉา โอหัง ฯลฯ ก็ดีขึ้นแล้ว แต่อีกหลายๆ อย่างทั้งที่พยายามแก้ไขแล้วแต่ก็ยังไม่หายอยู่ดี เช่น กามกำเริบ รักสวยรักงาม รักความสะดวกสบายจนเกินเหตุ ง่วงเหงา ซึมเซา ท้อถอย ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ ฯลฯ เราจึงต้องหาวิธีที่รัดกุมยิ่งๆ จึ้นไปอีกมาจัดการแก้ไข แต่สิ่งที่ควรจำไว้ก่อน
๓๒. ประพฤติพรหมจรรย์
ประพฤติพรหมจรรย์ คืออะไร ?
การประพฤติพรหมจรรย์ แปลว่า การประพฤติตัวเองอย่างพระพรหมหรือความประพฤติอันประเสริฐ หมายถึงการประพฤติตนตามคุณธรรมต่างๆ ทั้งหมดในศาสนาให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้กิเลสฟูกลับขึ้นมาอีกจนกระทั่งหมดกิเลสซึ่งต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามภูมิชั้นของจิต
ภูมิชั้นของจิต
๓๓. เห็นอริยสัจ
แม่บทของศาสนา
ประเทศก็มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด เป็นแม่บทของกฎหมายอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน ทุกศาสนาในโลกต่างก็มีหลักธรรมคำสั่งสอนที่เป็นแม่บทของศาสนานั้นๆ
๓๔. ทำพระนิพพานให้แจ้ง
นิพพานคือะไร ?
นิพพาน มีคำแปลได้หลายแบบ เช่น
- แปลว่า ความดับ คือ ดับกิเลส ดับทุกข์
- แปลว่า ความพ้น คือ พ้นทุกข์พ้นจากภพสาม
นิพพาน โดยความหมาย หมายได้ ๒ นัยยะใหญ่ๆ คือ
๑.หมายถึง สภาพจิตที่หมดกิเลสแล้ว
๒.หมายถึง สถานที่ที่ผู้หมดกิเลสแล้ว ไปเสวยสุขอันเป็นอมตะอยู่ ณ ที่นั้นๆ
นิพพาน เป็นที่ซึ่งความทุกข์ทั้งหลายเข้าไปไม่ถึง อยู่พ้นกฎของไตรลักษณ์ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีแก่ เจ็บ ตาย ทุกอย่างเป็นสุขัง เป็นนิจจัง เป็นอัตตา เป็นตัวตนที่แท้จริง บังคับบัญชาได้ เที่ยงแท้แน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นด้วยอำนาจการปฏิบัติธรรม มีพระพุทธพจน์ที่กล่าวถึงนิพพานไว้หลายครั้ง อาทิ “นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ” นิพพานสูญอย่างยิ่ง คือ สูญกิเลส สูญทุกข์ “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานสุขอย่างยิ่ง ทหารเมื่ออยู่ในหลุมหลบภัย ย่อมปลอดภัยจากอาวุธร้ายของศัตรูฉันใดผู้ที่มีใจจรดนิ่งอยู่ในพระนิพพาน ก็ย่อมปลอดภัยจากทุกข์ทั้งปวงฉันนั้น
๓๔. ทำพระนิพพานให้แจ้ง
นิพพานคือะไร ?
นิพพาน มีคำแปลได้หลายแบบ เช่น
- แปลว่า ความดับ คือ ดับกิเลส ดับทุกข์
- แปลว่า ความพ้น คือ พ้นทุกข์พ้นจากภพสาม
นิพพาน โดยความหมาย หมายได้ ๒ นัยยะใหญ่ๆ คือ
๑.หมายถึง สภาพจิตที่หมดกิเลสแล้ว
๒.หมายถึง สถานที่ที่ผู้หมดกิเลสแล้ว ไปเสวยสุขอันเป็นอมตะอยู่ ณ ที่นั้นๆ
นิพพาน เป็นที่ซึ่งความทุกข์ทั้งหลายเข้าไปไม่ถึง อยู่พ้นกฎของไตรลักษณ์ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีแก่ เจ็บ ตาย ทุกอย่างเป็นสุขัง เป็นนิจจัง เป็นอัตตา เป็นตัวตนที่แท้จริง บังคับบัญชาได้ เที่ยงแท้แน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นด้วยอำนาจการปฏิบัติธรรม มีพระพุทธพจน์ที่กล่าวถึงนิพพานไว้หลายครั้ง อาทิ “นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ” นิพพานสูญอย่างยิ่ง คือ สูญกิเลส สูญทุกข์ “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานสุขอย่างยิ่ง ทหารเมื่ออยู่ในหลุมหลบภัย ย่อมปลอดภัยจากอาวุธร้ายของศัตรูฉันใดผู้ที่มีใจจรดนิ่งอยู่ในพระนิพพาน ก็ย่อมปลอดภัยจากทุกข์ทั้งปวงฉันนั้น
๓๖. จิตไม่โศก
จิตโศกคืออะไร ?
คำว่า โศก มาจากภาษาบาลีว่า "โสกะ" แปลว่า "แห้ง"
จิตโศก จึงหมายถึง สภาพจิตที่แห้งผาก เหมือนดินแห้ง ใบไม้แห้ง หมดความชุ่มชื้น เนื่องจากไม่สมหวังในความรัก ทำให้มีอาการเหี่ยวแห้งหม่นไหม้ โหยหาขึ้นในใจ ใจซึมเซาไม่อยากรับรู้อารมณ์อื่นใด ไม่อยากทำการงาน “เปมโต ชายเต โสโก” ความโศกเกิดจากความรัก
๓๗. จิตปราศจากธุลี
จิตปราศจากธุลีคืออะไร ?
ธุลี แปลว่า ฝุ่นละอองที่ละเอียดมาก ในที่นี้หมายถึงกิเลสอย่างละเอียดที่เกาะ ซึม แทรก หุ้มใจของเราอย่างซ่อนเร้นบางๆ ทำให้ความผุดผ่อง ความใสสะอาดเสียไป ถ้าไม่สังเกตจะไม่เห็นไม่รู้
จิตปราศจากธุลี หมายถึง จิตที่หมดกิเลสแล้วทั้งหยาบทั้งละเอียดอย่างถอนรากถอนโคน ไม่มีทางฟื้นกลับเข้ามาในใจได้อีก ทำให้จิตสะอาดผ่องใส นุ่มนวลควรแก่การงาน ได้แก่จิตของพระอรหันต์
๓๘. จิตเกษม
ภัยของมนุษย์
ทันทีที่เกิดลืมตามาดูโลก เราก็ต้องผจญกับภัยต่างๆ นานาชนิดที่พร้อมจะเอาให้ถึงตายอยู่ทุกวินาที เหมือนว่ายน้ำท่ามกลางความมืดอยู่กลางทะเลมหาโหด ภัยทั้งหลายเหล่านี้แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ
๑.ภัยภายใน พอเกิดมาเราก็มีภัยชนิดนี้มาผจญคอยดักอยู่ตลอดเวลารุมล้อมรอบตัว
ข้างหลัง คือ ชาติภัย ภัยจากการเกิด
ข้างขวา คือ ชราภัย ภัยจากความแก่
ข้างซ้าย คือ พยาธิภัย ภัยจากความเจ็บ
ข้างหน้า คือ มรณภัย ภัยจากความตาย
ภัยเหล่านี้รุมล้อมเราทั้งซ้ายขวาหน้าหลัง ทุกด้านเลยทีเดียว ใคร ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้
๒.ภัยภายนอก มีอยู่นับไม่ถ้วน เช่น
- ภัยจากคน เช่น ผัวร้าย เมียเลว ลูกชั่ว เพื่อนที่ไม่ดี คนพาล คนเกเร นับไม่ถ้วน
- ภัยจากธรรมชาติเช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ฟ้าผ่า
- ภัยจากบาปกรรมตามทัน ถูกล้างผลาญทุกรูปแบบ ไปลักขโมย โกงเขาเขาจับได้ถูกขังคุกลงโทษกัน ก็สารพัดล่ะ ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น